เมนู

ตายนั้น และจะโทษเอาทายกผู้ให้โภชนะนั้นกระนั้นกระไรได้ ทายกนั้นจะได้บาปกรรมหาบ่มิได้
พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้โยมไม่มีสงสัย สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับเอาคำวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้าไว้
จะได้เป็นประโยชน์แก่ปัจฉิมาชนตาสัตว์ อันจะเกิดมาเมื่อภายหลังต่อไปในกาลบัดนี้
สัพพสัตตานัง หิตจรณปัญหา คำรบ 6 จบเพียงนี้

เสฏฐธัมมปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ พระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระมหากรุณาตรัสแก่วาเสฏฐ-
มาณพว่า โลกุตรธรรมนี้ถ้าผู้ใดสำเร็จแล้วประเสริฐนัก อาจให้เกิดผลเป็นทิฏฐธรรมเห็น
ประจักษ์ในชาตินี้ และจะให้ผลแผ่ไปในปรโลกแก่คนทั้งหลายอันสักการบูชา แล้วพระองค์ตรัส
ใหม่เล่าว่า คีหิ โสตาปนฺโน คฤหัสถ์ได้พระโสดานั้นละบาปกรรมได้เสร็จสิ้นแล้ว จะตายไปสู่
อบายภูมิทั้ง 4 นั้นหาบ่มิได้ เป็นผู้เห็นแท้ในธรรมจะได้สงสัยในคำพระตถาคตว่า ไม่เปลื้องปลด
ให้พ้นสังสารวัฏหาบ่มิได้ พระโสดาบันฆราวาสนั้น ย่อมไหว้และลุกรับภิกษุและสามเณรที่เป็น
ปุถุชน อันยังหนาด้วยกิเลส นี่แหละพระพุทธฎีกาทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน เดิมว่าผู้ที่ได้โลกุตรธรรม
นั้น ประเสริฐในปุถุชนจะบูชา ควรที่ปุถุชาจะบูชา ครั้นว่าจะเชื่อกระแสพระพุทธฎีกานี้ พระพุทธฎีกาที่
ได้โปรดไว้ทีหลังว่า พระโสดาบันคฤหัสถ์ย่อมนมัสการและลุกรับพระภิกษุสามเณรเป็นปุถุชน
กระแสพระพุทธฎีกาภายหลังนี้จะเป็นมิจฉา ครั้นจะเชื่อกระแสพระพุทธฎีกาภายหลังเล่า พระ
พุทธฎีกาที่ตรัสไว้ก่อนว่า พระโลกุตรธรรมเสริฐในปุถุนชน ควรปุถุนชาจะบูชา พระพุทธฎีกานี้จะ
เป็นมิจฉา อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ คือเป็นสองเงื่อน นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
โปรดวิสัชนาก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ เดิมสมเด็จพระบรม-
โลกนาถศาสดา มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระนวโลกุตรธรรมประเสริฐ ควรปุถุชนทั้งหลายจะไหว้
จะบูชา พระพุทธฎีกานี้ตรัสแน่นอนกระนี้ ปุน จ ครั้นต่อมาเล่า สมเด็จพระพิชิตมารมุนีเจ้ามี
พระพุทธฎีกาตรัสว่าคฤหัสถ์ได้พระโสดาเป็นผู้ละบาปกรรมได้เสร็จนั้น กระทำกาลกิริยาไม่รู้ไป
อบายทั้ง 4 คือ มั่นในคุณพระศรีรัตนตรัย แต่ยังเคารพนบไหว้พระภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชน
ดังนี้ ขอถวายพระพร คำทั้งสองนี้สมเด็จพระทศพลตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้จริง มิได้ผิดและ